วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

>>ประวัติโรงเรียนวัดสมถะ(สมถวิทยาคาร)<<



          




           โรงเรียนวัดสมถะ (สมถวิทยาคาร) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลบางโตนด อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๒ เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดสมถะเป็นอาคารเรียนชั่วคราว โดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๒ นักเรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ ป.๑ จำนวน ๔ ห้องเรียน โดยการนำของพระอธิการ ชิ้น ธมฺมโชติ เจ้าอาวาส และนายดี อินพลับ กำนันตำบลสมถะ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ อาคารเรียนชำรุดทรุดโทรมได้ทำการรื้อถอน แล้วก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ๐๑๗ และได้เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โรงเรียนจัดการศึกษาในชั้นเด็กเล็ก            

              ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ราชบุรี
เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จากการจัดการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ทำให้โรงเรียนประสบปัญหา ขาดแคลนห้องเรียน จึงได้มีการก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ๑๐๘ ล / ๒๕๓๐ โดยการนำของ นายเกิด ประจวบวัน อาจารย์ใหญ่ คณะครู กรรมการสถานศึกษา และ นางชณิกา เทศดนตรี ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓

          




            ปัจจุบัน ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนจัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนักเรียนจำนวน ๑๔๓ คน ข้าราชการครู ๑๕ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ คน พนักงานบริการ ๑ คน ลูกจ้าง ๑ คน และได้เปิดรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๔ ขวบ เป็นปีแรก มีจำนวนเด็กเล็ก ๒๒ คน เพื่อฝึกและพัฒนาเตรียมเด็กเข้าเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ต่อไป
สภาพชุมชนโดยรวม
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ
           ๑) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนชนบท มีประชากรประมาณ ๕,๕๐๐ คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่
ทิศตะวันออก ติดกับ แม่น้ำแม่กลอง
ทิศตะวันตก ติดกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบางโตนด
ทิศเหนือ ติดกับ วัดสมถะ
ทิศใต้ ติดกับ ชุมชน หมู่ที่ 6
อาชีพหลักของชุมชน คือ อาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ไม่นิยมทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่น จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามบรรพบุรุษ ว่างจากการทำนาก็จะรับจ้างหารายได้ช่วงรอฤดูเก็บเกี่ยว ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ การตักบาตรเทโวของวัดสมถะ ประเพณีสรงน้ำพระ ในวันสงกรานต์ การทำบุญศาลประจำปี
             ๒) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
ร้อยละ ๘๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ร้อยละ ๑๕ ประกอบอาชีพรับจ้าง
ร้อยละ ๕ ประกอบอาชีพค้าขาย
ร้อยละ ๑๐๐ นับถือศาสนาพุทธ